หน้าแรก
ช่วยเหลือ
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
สวัสดี
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WCP.CO.TH
ธุรกิจและบริการ
A12 ช่างกระจก
5 ขั้นตอนตรวจงานกระจก
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: 5 ขั้นตอนตรวจงานกระจก (อ่าน 8631 ครั้ง)
admin
Administrator
Hero Member
กระทู้: 51571
5 ขั้นตอนตรวจงานกระจก
«
เมื่อ:
มิถุนายน 14, 2020, 06:38:43 AM »
5 ขั้นตอนตรวจงานกระจก
1. ตรวจสอบชนิดกระจกที่เลือก
กระจกมีด้วยกันหลายชนิด สิ่งที่ต้องรู้ก่อนคือกระจกแบบไหนเหมาะสำหรับทำอะไร
2. ตรวจสอบกระจกที่หน้างาน
เมื่อท่านเจ้าของบ้านเลือกกระจกที่เหมาะสมกับงานได้แล้ว ขั้นตอนต่อมาก็ควรดูว่าผู้รับเหมาสั่งกระจกมาถูกต้องหรือไม่
โดยต้องดูตั้งแต่ชนิด เกรด คุณภาพ สีสัน ความหนา และขนาดของกระจก
3. ตรวจการเตรียมก่อนติดตั้ง
ก่อนการติดตั้ง ต้องตรวจสอบการจัดวางและการกองเก็บกระจกให้ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานก่อน
ทั้งนี้เพื่อกระจกจะได้ไม่เสียหายจากการจัดวางรอก่อนติดตั้งอีกด้วย หากต้องมีการตัดกระจกหน้างาน
ท่านต้องมีพื้นที่ตัดเพียงพอ แต่กระจกบางชนิดก็ต้องมีการตัดมาเรียบร้อยจากโรงงานเลย
และบางชนิดต้องมีการใช้หินขัดเพชรลบมุมออกก่อน ทั้งนี้การขนย้ายกระจกควรใช้เครื่องมือ
เพราะป้องกันอันตรายต่อช่างและป้องกันความเสียหายต่อกระจก
4. ตรวจการติดตั้งกระจก
การติดตั้งหน้าต่าง ลักษณะการติดตั้งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดและรูปแบบของกระจก
เช่น ถ้าเป็นกระจกระเบียงกันตก ก็ต้องยึดด้วยอุปกรณ์ที่แข็งแรง ยึดแน่นหนา อาจจะตรวจสอบด้วยการดูความเรียบร้อยในการติดตั้ง
ดูว่ากระจกติดตั้งได้ระดับ มีการซีลรอบๆ กระจกอย่างเรียบร้อย และ ไม่มีรอยแตกร้าวจากการติดตั้ง ถ้าเป็นกระจกฉากกั้นในห้องน้ำ
ก็ต้องตรวจดูว่าได้ระดับ และมีการยึดแน่นหนา แข็งแรง ราวจับติดตั้งได้ถูกต้อง และเปิด-ปิดประตูได้สะดวก เป็นต้น
5. ตรวจงานหลังติดตั้งแล้วเสร็จ
หลังติดตั้งกระจกแล้ว แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ก็ต้องมีการป้องกันการกระแทกหรือเดินชน
โดยการติดสัญลักษณ์ให้สามารถมองเห็นได้นะด้วยอุปกรณ์ที่สามารถลบได้หรือติดแล้วสามารถดึงออกได้
ซึ่งไม่ทำให้กระจกเป็นรอยหรือเสียหาย
5 วิธี ใช้กระจกสร้างพลังที่ดีแบบทบทวีให้กับบ้านคุณ
1. ใช้กระจกขยายโชคและโอกาสที่ดีแบบทบทวี
กระจก ในเชิงสัญลักษณ์แสดงถึงภาพแห่งการทบทวี ดังนั้น จึงนิยมติดกระจกเงาบริเวณที่เก็บเงิน หรือที่วางกระเป๋าเงิน หรือตู้เซฟ
หรือบริเวณเก็บเครื่องประดับราคาแพง เพื่อให้กระจกช่วยขยายเงินทองทรัพย์สมบัติแบบทบทวีให้กับคุณ
2. สร้างโถงแห่งความรุ่งเรืองให้กับบ้าน
โถงแห่งความรุ่งเรืองภายในบ้าน หมายถึง โถงหรือพื้นที่บริเวณส่วนที่เชื่อมต่อ หรือสามารถมองเห็นได้จากประตูหลักของบ้านที่ลึกเข้าไปในบ้านที่สุด
มีลักษณะเป็นที่ว่างโล่ง อาจจะเป็นห้องโถงบริเวณด้านในประตูหลักของบ้าน หรือห้องโถงบริเวณกลางบ้านก็ได้
การมีกระจกตกแต่งในบริเวณนี้สื่อถึงมีการเก็บสะสมพลังแห่งความรุ่งเรืองไว้ให้หมุนเวียนอยู่ภายในบ้านตลอดเวลา ส่งผลดีให้สมาชิกในบ้านมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย
3. สลายพลังร้ายกลายเป็นพลังดีให้กับบ้าน
พื้นมุมห้องที่เล็ก หรือมีทางเดินที่คับแคบ หรือมีเพดานที่เตี้ย ล้วนเป็นแหล่งสะสมของพลังงานด้านลบหรือพลังร้ายทั้งสิ้น
มีผลต่อสุขภาพจิตใจร่างกายที่ทำให้คุณรู้สึกอึดอัดหงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ป่วยบ่อย หรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หรือมีรายจ่ายมากกว่ารายได้
และอาจพบเจออุปสรรคทางตันบ่อยครั้ง ทำให้การดำรงชีวิตของคุณไม่ค่อยราบรื่นไม่ค่อยมีความสุขสบายนัก
4. กระจกไม่ควรมีในห้องนอน
การมีกระจกในห้องนอน โดยเฉพาะพื้นผิวกระจกเงาที่สะท้อนมายังเตียงนอนนั้น ถือเป็นข้อห้ามที่สำคัญมากในทางฮวงจุ้ย
เพราะเมื่อคุณตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วมองเห็นภาพตนเองในกระจกอาจตกใจ หรือเดินเตะชนเตียงจนเจ็บตัวก็ได้
และเชื่อว่ากระจกเงาที่สะท้อนมาที่เตียงมักจะดึงดูดมือที่สามให้เข้ามาในชีวิตแต่งงาน และยังส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพคุณอีกด้วย
5. เลี่ยงสิ่งบั่นทอนโชคลาภในบ้านคุณ
กระจกสามารถสะท้อนภาพได้ทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี ด้วยเหตุนี้กระจกจึงไม่ควรสะท้อนภาพถังขยะ โถส้วม เตาไฟ ท่อน้ำสกปรก
และทัศนียภาพภายนอกที่ไม่เป็นมงคล เช่น วัด สุสาน สถานีตำรวจ บ้านร้าง ทางสามแพร่ง มุมตึกที่แหลมคม เสาไฟฟ้าแรงสูง ต้นไม้ใหญ่แห้งตาย
เป็นต้น หากบ้านคุณเจอเรื่องดังกล่าว ให้แก้ด้วยการย้ายกระจกให้พ้นจากภาพเหล่านั้น หากย้ายไม่ได้ให้ใช้ผ้าม่านปิดกั้นวิวทิวทัศน์ที่ไม่ดีเหล่านั้นเสีย
7 ชนิด "กระจก" ที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อ
1. กระจกแผ่น (Sheet Glass) เป็นกระจกที่เราเห็นทั่วไป ไม่มีความซับซ้อน และมีความแข็งแรงต่ำ ฟองอากาศมาก ผิวกระจกเป็นรอยขูดขีดได้ง่าย
เป็นรอยขูดขีด ผิวค่อนข้างขรุขระ เป็นคลื่น อาจจะมีบิดเบี้ยวบ้าง การนำไปใช้ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะ เป็นกรอบรูป กระจกเงา และกระจกที่ใช้สำหรับเครื่องเรือน
2. กระจกโฟลต (Float Glass) เป็นกระจกที่มีความโปร่งแสงสูง ผิวเรียบสนิท การสะท้อนสามารถทำได้ดี ฟองอากาศน้อยกว่า Sheet Glass
การจัดเรียงของโมเลกุลภายใมนเนื้อกระจกทำได้ดีกว่าทำให้มีความแข็งแรงกว่ากระจก Float จึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 กระจกโฟลตใส (Clear Float Glass)
เป็นกระจกที่เกิดจากการหลอมของซิลิก้าสารประกอบต่างๆ กระจกประเภทนี้จะทำให้มีรอยต่อระหว่างกระจกน้อย สามารถนำไปใช้งานได้กับผนังภายนอก ผนังภายในอาคารได้ Clear Float Glass
เหมาะกับการใช้งานประเภทแสดงสินค้า แต่อาจไม่เหมาะกับส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว
2.2 กระจกสี (Tinted Float Glass)
มีการผสมออกไซด์ในเนื้อกระจกเพื่อให้เกิดสีสันแตกต่างกันไป เกิดความสวยงาม ช่วยลดความจ้าของแสงที่ส่งผ่านกระจกสีทำให้ได้แสงที่นุ่มนวลและเกิดความสบายตาในการมอง
แต่ออกไซด์ที่ใส่เข้าไปจะอมความร้อนจึงแตกได้ง่ายสีของกระจกยังสามารถช่วยตัดแสงที่จะส่องเข้ามาในตัวอาคาร ทำให้ประหยัดพลังงานภายในอาคารจึงเหมาะกับงานภายนอก
3. กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass) เป็นการนำกระจกClear Float Glass มาผ่านกระบวนการอบความร้อนและทำให้เย็นอย่างช้าๆ
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของผิวกระจกและสามารถรับแรงได้มากกว่า 2-3 เท่า และเมื่อกระจกแตกจะมีลักษณะเป็นปากฉลามยึดติดอยู่กับกรอบไม่ร่วงหล่นเหมือนกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Safety Glass)
จึงนิยมใช้ในการทำผนังภายนอก โดยเฉพาะGlass Curtain Wallกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วยกระจก 2 ชนิด ดังต่อไปนี้
4. กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass) มีการผลิตจากกระจก Clear Float Glass
แล้วนำมาอบความร้อนอีกครั้ง แล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็วโดยการเป่าลมเย็นทั้ง 2 ด้าน สามารถรับแรงได้มากกว่าถึง10 เท่า
และยังสามารถดัดได้มากกว่าถึง 3 เท่า สามารถรับแรงอัดของลมได้ดี แต่ไม่สามารถทำการตัดหรือเจาะได้เนื่องจากทนต่อแรง Point Load
ได้น้อย เมื่อแตกจะเป็นเม็ดเล็กคล้ายเมล็ดข้าวโพดและร่วงหล่นออกมาจากกรอบทั้งหมด เหมาะกับงาน ประตูกระจก ผนังกั้นอาบน้ำ (Shower Box)
ผนังภายนอกอาคารสูงๆ และเหมาะสำหรับใช้งานในสภาพที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก
5. กระจกเคลือบผิว หรือกระจกสะท้อนแสง (Surface coated glass) เป็นการนำกระจก Clear Float Glass
ไปปรับปรุงผิวด้วยการเคลือบออกไซด์ กระจกประเภทนี้จะมีความเงามันวาวกระจกในกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วยกระจก 2 ชนิดได้แก่ กระจกสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ (Solar Reflective Glass)
เป็นกระจกเคลือบผิวออกไซด์ความโปร่งแสงต่ำคนภายนอกมองเข้ามาภายในลำบาก แต่คนภายในมองออกภายนอกได้ชัด สามารถสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ที่จะผ่านเข้าสู่อาคารได้ประมาณ 30% เป็นการลดภาระของระบบปรับอากาศ
มักนิยมใช้กระจกประเภทนี้กับผนังภายนอกอาคาร กระจกแผ่รังสีต่ำ (Low-E Glass) คล้ายกับ Solar Reflective Glass โลหะที่ใช้เคลือบจะมีโลหะเงินบริสุทธิ์ช่วยให้สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี
ลดปัญหาเรื่องกระจกแตกร้าวได้ดีกว่า Solar Reflective Glass แต่ Low-E ตัดแสงได้น้อยกว่า
6. กระจกฉนวนความร้อน (Insulating Glass Units) คือ เป็นกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกบกัน โดยมี Aluminium Spacer
ซึ่งบรรจุสารดูดความชื้นแล้วใส่ฉนวน เช่น อากาศแห้ง (Dried Air) หรือ ก๊าซเฉื่อย ไว้ภายในเพื่อให้มีคุณสมบัติในการเก็บรักษาอุณภูมิภายในได้ดีมาก
(สามารถสะท้อนความร้อนได้ประมาณ 95%-98%) และไม่ทำให้เกิดฝ้าหรือหยดน้ำ แม้ว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกแตกต่างกันมาก
7. กระจกนิรภัยหลายชั้น (Laminated Safety Glass) คือ กระจกที่ประกอบไปด้วยกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปเช่นกัน มาประกบหรือติดด้วย PVB (Poly Vinyl Butyral)
กระจกจะติดกับ PVB ไม่ร่วงหล่นจากกรอบ Laminated Safety Glass จึงเหมาะกับ ผนังภายนอกอาคารสูง ราวกันตก เป็นต้น ผู้ออกแบบสามารถเลือกชนิดของกระจกที่จะนำมาประกอบกันเพื่อให้ได้
คุณสมบัติในการลดความร้อนจากภายนอกอาคารที่จะเข้าสู่ภายในอาคารได้ตามต้องการ
*
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
WCP.CO.TH
ธุรกิจและบริการ
A12 ช่างกระจก
5 ขั้นตอนตรวจงานกระจก