สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีพิจารณาเลือกขนาดบ่อบาดาลที่เหมาะสม  (อ่าน 2174 ครั้ง)

admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 51533
    • ดูรายละเอียด
วิธีพิจารณาเลือกขนาดบ่อบาดาลที่เหมาะสม

1. ปริมาณความต้องการในการใช้น้ำอย่างน้อยที่สุดในแต่ละรอบวัน(24 ชม.) อาทิเช่น 2,000 ลิตร การคิดให้เผื่อขึ้นไปอีก 1-1.5 เท่าเป็นอย่างน้อย คือ 4,000 – 5,000 ลิตร
 หรือประมาณการครอบคลุมถึงความต้องการในอนาคตที่ได้วางโครงการไว้เรียบร้อยแล้ว

2. พื้นที่ของเราสามารถให้น้ำได้ชั่วโมงละกี่ลูกบาศก์เมตร (1,000 ลิตร เท่ากับ 1 ลบ.ม. หรือเท่ากับ 1 หน่วยมาตรวัดน้ำทั่วๆไป) น้ำบาดาลแต่ละพื้นที่มีความสมบูรณ์แตกต่างกัน
ช่างเจาะบาดาลที่มีประสบการณ์จะพอคาดคะเนได้

ความสามารถให้น้ำของบ่อบาดาล

ในพื้นที่ที่น้ำบาดาลมีความสมบูรณ์ เช่น แอ่งลุ่มน้ำเชียงใหม่ บ่อบาดาลขนาด 4” สามารถให้น้ำได้มากกว่า 20 ลบ.ม./ชม. นั่นหมายความว่าหากเราสูบ 24 ชม.
จะได้น้ำไม่น้อยกว่า 480 ลบ.ม./วัน แต่ก็ต้องพิจารณาประสิทธิภาพของปั๊มน้ำที่ใช้สูบด้วย จึงเป็นเหตุผลหลักมากำหนดขนาดของบ่อบาดาลที่สามารถรองรับปั๊มน้ำลึก
ที่จะหย่อนลงไปติดตั้ง ขนาดของบ่อจะใหญ่ขึ้น ตามปั๊มน้ำขนาดแรงม้าต่างๆ

กรณีทั่วๆไป ความต้องการใช้น้ำที่ไม่เกินชั่วโมงละ 8-10 ลบ.ม. ในพื้นที่ที่ให้น้ำเกิน 10 ลบ.ม./ชม. เราควรเลือกขนาดบ่อ 4” ก็เพียงพอ
ไม่มีความจำเป็นที่จะสิ้นเปลืองเลือกบ่อขนาดใหญ่กว่านั้น

กรณีที่บ่อให้น้ำน้อย เช่นให้น้ำ 2 ลบ.ม.ต่อชม. แต่เราต้องการ 20 ลบ.ม. ต่อวัน หากไม่มีพื้นที่สำหรับเจาะบ่อบาดาลใหม่เพิ่มเติม
ราอาจแก้ปัญหาโดยการสร้างถังเก็บน้ำที่ใหญ่มากขึ้น (ความจุอาจจะถึง 20 ลบ.ม.) เพื่อให้ปั๊มสูบน้ำเข้ามาเก็บในช่วงที่เราไม่ใช้น้ำ
เช่นเวลากลางคืน ปั๊มจะทำงานเฉลี่ยถึง 10 ชม.หรือมากกว่านั้นหากจำเป็นเพื่อเก็บน้ำให้เพียงพอการใช้งานใน 1 วัน
ปั๊มน้ำลึกสามารถเดินเครื่อง 24 ชม.ได้ หากระบบไฟฟ้าที่มาป้อนปั๊มไม่มีปัญหา (ในปี 37)เคยมีลูกค้าฟาร์มเพาะเห็ดเดินเครื่องปั๊มน้ำ 24 ชม.ได้ถึง 1 ปี จึงเจาะบ่อบาดาลใหม่เพิ่ม


คนเจาะน้ำบาดาล รู้ได้อย่างไรว่าถึงชั้นบริเวณที่มีน้ำแล้ว

1)ระดับน้ำเดิม ของบ่อใกล้เคียง
2) ข้อมูลดิน และหินของบ่อใกล้เคียง

ข้อมูลขณะเจาะ (ขึ้นอยู่กับ ชนิดของเครื่องเจาะ)
1) ดิน/หิน ที่เป็นเศษขึ้นมาตอนเจาะ
2) ปริมาณน้ำ ถ้าตรงไหนตาน้ำแรง จะมีน้ำไหลย้อนขึ้นมากับตัวอย่างมาก ยิ่งถ้าเป็นเครื่องเจาะระบบใช้ลม น้ำจะพุ่งสวนก้านเจาะขึ้นมา
หรือ ดิน/หินตัวอย่างเปียก ส่วนระบบหมุนที่ใช้น้ำโคลน ก็ดูความเหลวของน้ำโคลน หรือปริมาณน้ำโคลนที่ถูกพาขึ้นมา
3) แรงดันย้อนที่หัวเจาะสูงขึ้นแสดงว่าน้ำดัน หรือ หายไปแสดงว่าเป็นโพรง ด้านล่าง (สำหรับเครื่องเจาะที่มีมิเตอร์วัด)

ข้อมูลหลังเจาะ (ก่อนพัฒนาบ่อ)
1) การทดลองเป่าลมลงไปในบ่อตรงๆ เพื่อวัดน้ำที่พุ่งออกมา
2) การหย่อนสายไฟเพื่อเช็คระดับน้ำ
3) การหย่อน Probe เพื่อเช็คน้ำ สภาพหลุมเจาะ และ อื่นๆ

การหาตาน้ำ แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน - ลวดเดาว์ซิง Dowsing Rod

การหาตาน้ำแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้ได้ผล
ใช้เหล็กทองแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 มม. ยาวประมาณ 60 ซม. งอเป็นรูป L 2 อัน ถอดรองเท้าจับแล้วเดินช้า ตรงไหนมีตาน้ำ เหล็กจะวิ่งเข้าหากัน

คนโบราณมีศิลปศาสตร์ในการค้นหาน้ำใต้ดิน กรุสมบัติที่ถูกฝัง หรือกระทั่งคนหาย ด้วยกลวิธีเสี่ยงทาย โดยใช้อุปกรณ์พื้นๆ ที่หาได้ทั่วไป

กลเม็ดเคล็ดลับที่ว่านี้ ไม่มีคำไทย จึงขอเรียกตามฝรั่งว่า ดาวซิง (dowsing) และคนที่ทำแบบนี้ก็เรียกว่า ดาวเซอร์ (dowser)
ดาวซิงเป็นไฉน?
ตามความหมายกว้างๆ ดาวซิงเป็นศิลปะของการค้นหาข้าวของต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการหาน้ำ แต่ก็รวมถึงการหาแร่ หรือน้ำมันด้วย
เครื่องมือที่ใช้นั้นเป็นของธรรมดาสามัญมาก อาจเป็นกิ่งไม้ แท่งโลหะ หรือลูกตุ้มก็ได้
เมื่อถืออุปกรณ์เหล่านี้เดินเข้าใกล้สิ่งที่กำลังค้นหา เช่น แหล่งน้ำ อุปกรณ์จะแสดงปฏิกิริยาบางอย่าง เช่น โน้มปลายชี้ไปยังจุดที่มีน้ำอยู่ใต้ดิน หรือแกว่งไกวในกรณีของลูกตุ้ม
ดาวซิงเป็นกิจกรรมที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ แต่ประวัติความเป็นมาของศิลปะแขนงนี้ ได้หายสาบสูญไปนานแล้ว
ว่ากันว่าดาวซิงถือกำเนิดมาแล้วอย่างน้อย 8,000 ปี เพราะภาพวาดบนผนังที่ถ้ำทัสซิลีในแอฟริกาเหนือ ซึ่งประมาณว่าเก่าแก่ถึง 8,000 ปี
มีรูปกลุ่มคนป่ากำลังห้อมล้อมชายคนหนึ่ง ซึ่งถือไม้ง่ามอยู่ในมือ ท่าทางเหมือนกำลังหาน้ำด้วยวิธีที่ว่านี้
เชื่อกันว่า ในคัมภีร์ไบเบิลก็อาจมีบันทึกเรื่องดาวซิงอยู่ด้วย ถึงแม้ไม่ได้ระบุชัดก็ตาม คือตอนที่โมเสสกับอาโรนใช้ไม้เท้าชี้แหล่งน้ำ
ขณะนำพาชาวฮีบรูร่อนเร่อยู่ในทะเลทราย หลังจากหนีการเป็นทาสออกจากอียิปต์
บันทึกที่ชัดเจนในเรื่องดาวซิงปรากฏขึ้นในยุคกลาง ซึ่งมีการบรรยายว่าดาวเซอร์ในยุโรปได้ออกค้นหาแหล่งถ่านหินด้วยวิธีนี้
 ซึ่งในศตวรรษที่ 15-16 พวกดาวเซอร์มักถูกประณามว่าเป็นพวกเล่นคุณไสย หรือเป็นพ่อมดแม่มด ถึงกับมีการเรียกการหาน้ำโดยวิธีนี้ว่า "water witching"




[/url]