สวัสดี

ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 5 ประเภทวัสดุทำป้ายยอดนิยม ตัวอย่างป้ายโฆษณา  (อ่าน 3162 ครั้ง)

admin
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 51544
    • ดูรายละเอียด
5 ประเภทวัสดุทำป้ายยอดนิยม ตัวอย่างป้ายโฆษณา

1. ซิงค์ (Zinc)

ป้ายซิงค์(Zinc) คือ ป้ายสังกะสี หรือแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีด้วยกรรมวิธีไฟฟ้า จะมีความเหมาะสมสำหรับการใช้งานที่ต้องการความทนทานต่อการสึกกร่อนมากกว่าเหล็ก

2. สแตนเลส (Stainless Steel)

สแตนเลส คือ เหล็กกลุ่มที่มีความต้านทานการกัดกร่อน (เหล็กกล้าไร้สนิม) โดยมีโครเมี่ยมผสมอยู่อย่างน้อย 10.5% นอกจากนี้ยังมีการเติมธาตุผสมอื่นๆ เช่น นิกเกิล
โมลิบดินัม ไททาเนียม เพื่อเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน นอกจากนี้สแตนเลสยังสามารถต้านทานต่ออุณภูมิสูงและต่ำ ง่ายต่อการประกอบขึ้นรูป

3. อลูมิเนียม (Aluminium)

อลูมิเนียมเป็นโลหะธรรมชาติ สามารถทนต่อการสึกกร่อน ทนความร้อนสูงและทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย ไม่เป็นสนิม มีความมันวาว สามารถชุบสีเพื่อเพิ่มความสวยงามได้
ทั้งยังมีน้ำหนักเบามาก ราคาไม่แพง ช่วยลดต้นทุนได้อย่างดีเยี่ยม แต่ถึงแม้ว่าอลูมิเนียมจะมีความแข็งแกร่งและทนทานมาก ก็มีจุดด้อยเช่นกัน นั่นก็คือ ไม่สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้
โดยเฉพาะไอน้ำเค็ม จากทะเลที่อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนได้ง่าย นิยมนำมาใช้ทำป้ายโฆษณาแบบป้ายแผ่นเรียบ เนมเพลท กรอบป้ายไฟสำเร็จรูป ใช้เทคนิคการประกอบงานด้วย
Aluminium Profile ต่าง ๆ ที่มีหลากหลาย

4. อะคริลิค (PMMA Acrylic)

อะคริลิค เป็นพลาสติกที่มีความทนทาน และได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งอะคริลิคก็มักจะมีหลายชื่อด้วยกัน โดยชื่อเรียกที่ได้ยินบ่อยที่สุด ก็คือ
อะคริลิคพลาสติก กระจกอะคริลิคหรือแผ่นอะคริลิค เป็นต้น สำหรับคุณสมบัติของอะคริลิค ก็คือ เป็นวัสดุที่มีความทนทานแข็งแรง สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดีกว่ากระจก
 ทั้งมีความหนาตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร-20 มิลลิเมตร ขึ้นไป จึงสามารถนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างชิ้นงานจากอะคริลิค เช่น กรอบรูป ป้ายโฆษณาและชั้นวางโชว์ เป็นต้น

5. กระจก (Glass)

กระจกสามารถนำมาใช้งานเป็นวัสดุทำป้ายได้เช่นกัน เหมาะกับงานที่ต้องการความเนี้ยบ เรียบหรู เทคนิคที่นิยมคือนำแผ่นกระจกตัดมาเจียรแล้วพ่นทราย
 กัดกรด หรือติดสติกเกอร์ตามรูปแบบที่ต้องการ ถ้าเล่นซ่อนไฟด้วยจะได้ Effect เรืองแสงได้สวยงาม เป็นป้ายกระจกกัดกรดเซาะร่องลงสี
ป้ายกระจกฟิล์มปริ้นลายตามแบบ ตามต้องการ

5 หลักการออกแบบป้ายโฆษณาที่ทำให้ธุรกิจของคุณโดดเด่น​


1.มีประเด็นหลัก
ทุกอย่างตั้งแต่ข้อความ ตัวอักษร ไปจนถึงการเลือกใช้สีควรมีพื้นฐานมาจากประเด็นหลักที่คิดมาอย่างดี นอกโทนสีของป้ายที่เตะตาแล้ว ควรใช้ตัวอักษรที่เหมาะสมและจัดวางข้อความให้สามารถอ่านและเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ป้ายสามารถสร้างความประทับใจให้แก่ทุกคนที่อ่าน

2.สีดึงดูด
การเลือกใช้สีมีบทบาทสำคัญในการออกแบบป้ายที่ดี ลองนึกถึง “สีแดงแห่งโค้ก” หรือ “สีเหลืองของแมคโดนัลด์” โดยปกติแล้วสีจะช่วยสื่อตัวตนของยี่ห้อ แม้ว่าเจ้าของธุรกิจบางรายอาจต้องการใช้สีที่ทันสมัย ไม่ตกยุค และดูสมัยใหม่ในการสื่อตัวตนของยี่ห้อ แต่ก็ควรพิจารณาถึงการออกแบบป้ายเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานด้วย เพราะสีที่ทันสมัยในวันนี้อาจกลายเป็นสีที่ล้าสมัยได้ในวันถัดไป

3.เพิ่มความแตกต่างให้อ่านง่าย
ป้ายส่วนมากมีพื้นหลังเป็นสีและมีพื้นหน้าเป็นตัวอักษรหรือรูปภาพ ความแตกต่างระหว่าง 2 ส่วนนี้คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านจำเนื้อหาได้ การจับคู่สีที่คล้ายกันอาจทำให้ป้ายอ่านยากขึ้น แต่เราสามารถขับตัวอักษรให้เด่นด้วยการใส่เส้นขอบหรือแสงเงาให้ตัวอักษรพื้นหน้า

4.ขนาดนั้นสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณกำลังออกแบบป้ายเพื่อติดตั้งริมถนนหรือป้ายที่จะถูกอ่านจากระยะไกล เช่น ตามงานประชุม เป็นต้น กฎการคำนวณง่ายๆคือตัวอักษรสูง 1 นิ้วต่อระยะห่าง 10 ฟุต ดังนั้นหากป้ายของคุณมีระยะห่างจากผู้อ่าน 100 ฟุตก็ควรใช้ตัวอักษรที่มีความสูง 10 นิ้วเพื่อมอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุด นอกจากนี้แบบของตัวอักษรก็มีผลต่อความยากง่ายในการอ่าน แม้ตัวอักษรลายดอกไม้สามารถสื่อถึงสไตล์ แต่ก็อาจทำให้อ่านยากจากระยะไกล

5.ทำป้ายธุรกิจด้วยตัวอักษรที่โดดเด่น
สีไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ป้ายธุรกิจของคุณดึงดูดสายตา รูปแบบตัวหนังสือที่มีมิติจะทำให้ข้อความบนป้ายของคุณโดดเด่นออกมาจากพื้นหลัง นี่คือสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะถ้าหากร้านของคุณรายล้อมไปด้วยร้านค้าอื่นๆ เช่น ในห้างสรรพสินค้าหรือย่านการค้าแบบห้องแถว เพียงปรับเปลี่ยนรูปแบบมิติของป้ายธุรกิจก็สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างความแตกต่างให้แก่ป้ายโฆษณาและโลโก้ยี่ห้อของคุณได้

5 แนวทางออกแบบสื่อหน้าร้านให้ลูกค้าสะดุดตา


1.เลือกวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน และงบประมาณ

2.ขนาดของสื่อเป็นสิ่งที่สำคัญ ก่อนสั่งผลิตสื่อควรดูให้ดีว่าขนาดเหมาะสมกับระยะทำการมองเห็นหรือไม่ บางคนต้องการให้รถที่ขับผ่านเห็น แต่ไปทำธง J-Flag ก็คงไม่ได้ผลเท่าไรนักเพราะมันเล็กเกินไป

3. ไม่จำเป็นต้องเอาทุกเมนูมาใส่ในภาพสื่อทั้งหมด เพราะมันจะดูไม่รู้เรื่อง เนื่องจากยิ่งใส่เยอะภาพก็ต้องยิ่งเล็กลง แนะนำให้ดึงเฉพาะเมนูเด่นๆ สวยๆ มาลงก็พอ

4. วันและเวลา ให้บริการอย่าลืมใส่ด้วยนะ

5. เวลาสั่งผลิตสื่อเขาจะมีขั้นตอนหนึ่งที่เรียกว่า “ปรู๊ฟ” แบบ คือซัพพลายเออร์จะให้เราตรวจสอบ ความถูกต้องของสื่อและความสด, สว่างของสีภาพ ก่อนสั่งผลิตขนาดจริง อย่าลืมตรวจเช็ครายละเอียดให้เป๊ะ